การประชุมการบริหารงานบุคคลประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

การประชุมการบริหารงานบุคคลประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามได้จัดประชุมร่วมกันกับคณะกรรมการบริหารงานบุคคลประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ครั้งที่ 156 (10/2566) เพื่อพิจารณาประเด็นการดำเนินงานด้านการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม สรุปข้อมูลผู้มีส่วนร่วม ในการประชุมคณะกรรมการบริหารงานบุคคล ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในประเด็นเรื่องการพิจารณาการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยฯ  ประกอบด้วยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคลจากภายนอก จำนวน 2 ราย และบุคลากรภายใน จำนวน 29 ราย เป็นคณะกรรมการพิจารณาร่วมด้วย   ผลจากการมีส่วนร่วม จากการประชุม คณะกรรมการได้มีการพิจารณาเห็นชอบและมีมติให้ดำเนินการตามมติที่ประชุม ดังนี้ คณะกรรมการมีมติเห็นชอบให้ยกเลิกการประเมินเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น กรณีปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าหน่วยงานที่มีลักษณะใช้วิชาชีพและไม่ได้ใช้วิชาชีพที่ประเมินจากระดับปฏิบัติการเป็นระดับชำนาญการ โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป สำหรับหน่วยงานคณะ/สำนัก/สถาบัน หากตำแหน่งใดที่มีผลการประเมินค่างานเรียบร้อยแล้วและภาระงานที่รับผิดชอบปัจจุบันไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากการประเมินค่างานดังกล่าวให้ดำเนินการจัดส่งผลงานเพื่อประเมินตนเองเข้าสู่ตำแหน่งสูงขึ้นต่อไป คณะกรรมการมีมติเห็นชอบการบริหารงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 แผนงานบุคลากรภาครัฐตามที่เสนอ เห็นชอบการจ้างพนักงานมหาวิทยาลัยเพื่อทดลองการปฏิบัติงาน โดยใช้อัตราข้าราชการ และพนักงานมหาวิทยาลัยที่จะเกษียณอายุราชการ 1 ตุลาคม 2567 จำนวน 11 อัตรา เห็นชอบการจ้างพนักงานมหาวิทยาลัยจากนักเรียนทุนรัฐบาล 3 อัตรา เห็นชอบการจ้างอัตราพนักงานราชการ

การจัดกิจกรรมการพัฒนาชุมชนแบบบูรณาการ

เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2566  มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้จัดกิจกรรมการพัฒนาชุมชนแบบบูรณาการ แบบเชิงปฏิบัติการ พัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับจัดจำหน่าย ครั้งที่ 1  ภายใต้ โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยใช้โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกเป็นฐาน ข้อมูลผู้มีส่วนร่วม บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม บุคลากรสายวิชาการ จำนวน 4 คน บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม นักศึกษา จำนวน 3  คน บุคลากรภายนอกสถานศึกษา คนในชุมชน จำนวน 10 คน บุคลากรภายนอกสถานศึกษา จำนวน 8 คน   ผลจากการมีส่วนร่วม         ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ลงพื้นที่สำรวจความต้องการและปัญหาของชุมชนหมู่บ้านรักไทยและหมูบ้านนุชเทียนเป็นหมู่บ้านของตำบลบ่อภาคอำเภอเนินชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ชาวชุมชนทำอาชีพเกษตรกรรมเป็นจำนวนมาก และได้รับผลกระทบเกี่ยวกับราคาของผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามจึงเกิดแนวคิดเพิ่มมูลค่าของผลผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรให้แก่ชุมชนบริเวณโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โดยมาพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตร พัฒนาคุณภาพบรรจุผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การสร้างเครือข่ายการจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตร และเพิ่มรายได้ให้เกี่ยวกับเกษตรกร   การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน มหาวิทยาลัยฯ ได้นำผลการจากการสำรวจพื้นที่ ความต้องการและปัญหาของคนในชุมชน ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์การต่อยอดการแปรรูปทางการเกษตร เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยฯ และคนในชุมชน ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น มีเครือข่ายการจำหน่ายผลิตภัณฑ์การแปรรูปสินค้าทางการเกษตร

การจัดกิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยใช้โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกเป็นฐาน

เมื่อวันที่ 11 – 12 กุมภาพันธ์ 2566  มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้จัดกิจกรรม การสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากกล้วยน้ำว้าและสับปะรด ครั้งที่ 1 ภายใต้ โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยใช้โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกเป็นฐาน ข้อมูลผู้มีส่วนร่วม บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม บุคลากรสายวิชาการ จำนวน 5 คน บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม บุคลากรสายสนับสนุน จำนวน 2 คน บุคลากรภายนอกสถานศึกษา จำนวน 5 คน บุคลากรภายนอก / ชุมชน จำนวน 28 คน   ผลจากการมีส่วนร่วม         ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ลงพื้นที่สำรวจความต้องการและปัญหาของชุมชนหมู่บ้านรักไทยและหมูบ้านนุชเทียนเป็นหมู่บ้านของตำบลบ่อภาคอำเภอเนินชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ชาวชุมชนทำอาชีพเกษตรกรรมเป็นจำนวนมาก และได้รับผลกระทบเกี่ยวกับราคาของผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามจึงเกิดแนวคิดเพิ่มมูลค่าของผลผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรให้แก่ชุมชนบริเวณโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และเพื่อพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตร พัฒนาคุณภาพบรรจุผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การสร้างเครือข่ายการจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตร และเพิ่มรายได้ให้เกี่ยวกับเกษตรกร   การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน มหาวิทยาลัยฯ ได้นำผลการจากการสำรวจพื้นที่ ความต้องการและปัญหาของคนในชุมชน ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์การต่อยอดการแปรรูปทางการเกษตร เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยฯ และคนในชุมชน

การพิจารณาจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

เมื่อวันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม 2565  มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้จัดประชุมร่วมกันกับคณะกรรมการการเงินและงบประมาณประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ           พิบูลสงคราม ครั้งที่ 33(5/2565) เพื่อพิจารณาการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยฯ ในเรื่องของการบริหารงบประมาณ และแนวทางการดำเนินงานอื่นๆ ข้อมูลผู้มีส่วนร่วม ในประเด็นเรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก จำนวน 2 ราย เป็นคณะกรรมการพิจารณาร่วมด้วย ผลจากการมีส่วนร่วม เพื่อพิจารณาผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยฯ ดังนี้ การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้กำหนดมิติการพัฒนา ดังนี้ มิติการพัฒนาที่ 1 : การยกระดับคุณภาพบัณฑิต มิติการพัฒนาที่ 2 : การผลิตและพัฒนาครูสู่ความเป็นเลิศในยุคดิจิทัล มิติการพัฒนาที่ 3 : การยกระดับผู้ประกอบการและคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น มิติการพัฒนาที่ 4 : ปัจจัยผลักดันการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย การพิจารณา (ร่าง) ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เรื่องหลักเกณฑ์การให้ทุนสนับสนุนนวัตกรรมสำหรับนักศึกษา การพิจารณา (ร่าง) ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เรื่อง ค่าใช้จ่ายในการขอตีพิมพ์เผยแพร่วารสารครุพิบูล

สำนักศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ร่วมกันกับ พิษณุโลก -วัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก ร่วมกันจัดกิจกรรมพัฒนาอาหารท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมในจังหวัดพิษณุโลก

พิษณุโลก – วัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลกร่วมกับสำนักศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ส่วนวังจันทน์) จัดกิจกรรมพัฒนาอาหารท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมในจังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2566 สำนักศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก นางสาวนิภาวรรณ กาญจนพิทักษ์ วัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานเปิดโครงการ พัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตและสืบสานประเพณีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยน้อมนำศาสตร์พระราชามาสู่การปฏิบัติ กิจกรรมการพัฒนาอาหารท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมในจังหวัดพิษณุโลก โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำทิพย์ วงประทีป ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพัตรา เจริญภักดี บดีรัฐ พร้อมด้วยคณะกรรมการฝ่ายคัดเลือกอาหารและผู้ประกอบการของจังหวัดพิษณุโลก คณะกรรมการฝ่ายยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนชองจังหวัดพิษณุโลกและผู้ประกอบการเข้าร่วม   ข้อมูลผู้มีส่วนร่วม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำทิพย์ วงประทีป ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพัตรา เจริญภักดี บดีรัฐ พร้อมด้วยคณะกรรมการฝ่ายคัดเลือกอาหารและผู้ประกอบการของจังหวัดพิษณุโลก คณะกรรมการฝ่ายยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนชองจังหวัดพิษณุโลกและผู้ประกอบการเข้าร่วม   ผลจากการมีส่วนร่วม จากการจัดกิจกรรมร่วมกันกับจังหวัดพิษณุโลก ทำให้ทราบว่า จังหวัดพิษณุโลกมีจุดเด่นในเรื่องของอาหารท้องถิ่นที่มีชื่อเสียง มีเอกลักษณ์เฉพาะในพื้นที่ที่มีประวัติและวัฒนธรรมสืบต่อกันมายาวนาน อีกทั้งยังเป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างภาคเหนือสู่ภาคกลางและภาคอีสาน  ซึ่งจะมีรถไฟความเร็วสูงตัดผ่านและถูกพัฒนาเป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดกับเส้นทางที่พัฒนา LIMEC ศูนย์กการกระจายสินค้า ทำให้เกิดเชื่อมโยงสินค้าสู่ชายแดนได้ในอนาคต และเป็นศูนย์กลางการประชุมในประเทศและระดับนานาชาติ ตลอดจนการเป็นสี่แยกอินโดจีนของศูนย์กลางความเจริญแห่งภูมิภาคที่มั่นคง ทำให้พิษณุโลกมีจุดแข็งในการดึงดูดกลุ่มนักท่องเที่ยวใหม่เข้ามา ข้อมูลการศึกษาพบว่า 1

คณะกรรมการบริหารงานบุคคลประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้จัดประชุมร่วมกันกับคณะกรรมการบริหารงานบุคคลประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ครั้งที่149(3/2566) เพื่อบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล กลั่นกรองการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการของข้าราชการ การพิจารณากรอบอัตรากำลัง การกำหนดตำแหน่ง และอัตราเงินเดือน การพิจารณาดำเนินการสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง พิจารณากลั่นกรองกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัย หรือตามที่สภามหาวิทยาลัยมอบหมาย   ข้อมูลผู้มีส่วนร่วม ในการประชุมคณะกรรมการบริหารงานบุคคล ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในประเด็นเรื่องเสนอพิจารณา โดยมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคลภายนอก จำนวน 2 ราย เป็นคณะกรรมการพิจารณาร่วมด้วย   ผลจากการมีส่วนร่วม จากการประชุมคณะกรรมการบริหารงานบุคคลประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามเพื่อพิจารณาผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยฯ ดังนี้ แจ้งผลการทดลองการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณาร่าง ข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ว่าด้วยเครื่องแบบพนักงานราชการ พ.ศ. เพื่อพิจารณาผลการประเมินเพื่อเลื่อนข้นระยะตามเงื่อนไขในสัญญาจ้างของพนักงานมหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณาการย้ายหน่วยงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ เพื่อพิจารณากรอบระดับตำแหน่งประเภทผู้บริหารและกรอบระดับชำนาญการพิเศษของบุคลากรสายสนับสนุน เพื่อพิจารณาร่างประกาศ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เรื่องการจ่ายเงินประจำตำแหน่งทางวิชาการของพนักงานมหาวิทยาลัยเงินรายได้ สายวิชาการ การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน มหาวิทยาลัยฯ ได้นำผลการประชุมเรื่องการร่าง ข้อบังคับ ว่าด้วยเครื่องแบบพนักงานราชการ  ประกาศมหาวิทยาลัย เรื่องการจ่ายเงินประจำตำแหน่งทางวิชาการของพนักงานมหาวิทยาลัย

คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ

เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้จัดประชุมร่วมกันกับคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก ครั้งที่ 63(2-2566) เพื่อหารือเกี่ยวกับการพิจารณาผู้ยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการที่มีคุณสมบัติและผลงานวิชาการ   ข้อมูลผู้มีส่วนร่วม ในการประชุมคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ในประเด็นการพิจารณาการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2566 โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่เข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการ จำนวน 7 ราย   ผลจากการมีส่วนร่วม จากการประชุมคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการเพื่อพิจารณาผู้ยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการที่มีคุณสมบัติและผลงานทางวิชาการ “เป็นไปตามเกณฑ์” การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ และ “ไม่เป็นไปตามเกณฑ์” เพื่อรายงานผลการพิจารณา เพื่อพิจารณาคุณสมบัติและผลงานทางวิชาการเป็นไปตามเกณฑ์การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ เพื่อให้ความเห็นชอบการเสนอขอกำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตร์จารย์ รองศาสตาจารย์และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2561 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อเสนอสภาวิชาการให้ความเห็นก่อนเสนอสภามหาวิทยาลัยฯ เพื่อพิจารณาแต่งตั้ง เพื่อพิจารณาผู้ยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการที่มีคุณสมบัติและผลงานทางวิชาการ “ไม่เป็นไปตามเกณฑ์” เพื่อพิจารณาคุณสมบัติและผลงานทางวิชาการของผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ เพื่อพิจารณาเทียบตำแหน่งทางวิชาการของพนักงานมหาวิทยาลัยที่มีตำแหน่งทางวิชาการจากสถาบันอื่น   การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน   คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ศาสตราจารย์กิติคุณ ดร.ปทีป เมธาคุณวุฒิ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ได้หารือถึงการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการขณะนี้เริ่มมีบุคลากรสายวิชาการ ด้านสังคม ด้านการศึกษา ได้นำวิทยานิพนธ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ร่วมประชุมกับกระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม ประเด็นการมอบนโยบายผู้บริหารมวิทยาลัยกลุ่ม 2 จำนวน 19 แห่ง

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ร่วมประชุมกับกระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม ประเด็นการมอบนโยบายผู้บริหารมวิทยาลัยกลุ่ม 2 จำนวน 19 แห่ง เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2566 ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว. การอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) เป็นประธานมอบนโยบายให้กับอธิการบดีและผู้แทนมหาวิทยาลัยกลุ่ม 2 ในประเด็นการมอบนโยบายผู้บริหารมหาวิทยาลัย กลุ่ม 2   ข้อมูลผู้มีส่วนร่วม ในการประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยกลุ่ม 2 (กลุ่มพัฒนาทึโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม) ครั้งที่ 1 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม  ว่า การประชุมอธิการบดี และผู้แทนมหาวิทยาลัยกลุ่ม 2 ซึ่งเป็นกลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้าง นวัตกรรมถือว่ามีความสำคัญในการผลิตกำลังคน เพื่อสร้างศักยภาพการแข่งขันของประเทศ ด้วยการพัฒนาขีดความสามารถในการสร้างสินค้าและบริการ บนฐานวัตรกรรม และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพสูง ตลอดจนการพัฒนาเกษตรกรรม อุสาหกรรม และบริหารความหลากหลาย ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษา 19 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก มหาวิทยาลันเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย