พิษณุโลก – วัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลกร่วมกับสำนักศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ส่วนวังจันทน์) จัดกิจกรรมพัฒนาอาหารท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมในจังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2566 สำนักศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก นางสาวนิภาวรรณ กาญจนพิทักษ์ วัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานเปิดโครงการ พัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตและสืบสานประเพณีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยน้อมนำศาสตร์พระราชามาสู่การปฏิบัติ กิจกรรมการพัฒนาอาหารท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมในจังหวัดพิษณุโลก โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำทิพย์ วงประทีป ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพัตรา เจริญภักดี บดีรัฐ พร้อมด้วยคณะกรรมการฝ่ายคัดเลือกอาหารและผู้ประกอบการของจังหวัดพิษณุโลก คณะกรรมการฝ่ายยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนชองจังหวัดพิษณุโลกและผู้ประกอบการเข้าร่วม

 

ข้อมูลผู้มีส่วนร่วม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำทิพย์ วงประทีป ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพัตรา เจริญภักดี บดีรัฐ พร้อมด้วยคณะกรรมการฝ่ายคัดเลือกอาหารและผู้ประกอบการของจังหวัดพิษณุโลก คณะกรรมการฝ่ายยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนชองจังหวัดพิษณุโลกและผู้ประกอบการเข้าร่วม

 

ผลจากการมีส่วนร่วม

จากการจัดกิจกรรมร่วมกันกับจังหวัดพิษณุโลก ทำให้ทราบว่า จังหวัดพิษณุโลกมีจุดเด่นในเรื่องของอาหารท้องถิ่นที่มีชื่อเสียง มีเอกลักษณ์เฉพาะในพื้นที่ที่มีประวัติและวัฒนธรรมสืบต่อกันมายาวนาน อีกทั้งยังเป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างภาคเหนือสู่ภาคกลางและภาคอีสาน  ซึ่งจะมีรถไฟความเร็วสูงตัดผ่านและถูกพัฒนาเป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดกับเส้นทางที่พัฒนา LIMEC ศูนย์กการกระจายสินค้า ทำให้เกิดเชื่อมโยงสินค้าสู่ชายแดนได้ในอนาคต และเป็นศูนย์กลางการประชุมในประเทศและระดับนานาชาติ ตลอดจนการเป็นสี่แยกอินโดจีนของศูนย์กลางความเจริญแห่งภูมิภาคที่มั่นคง ทำให้พิษณุโลกมีจุดแข็งในการดึงดูดกลุ่มนักท่องเที่ยวใหม่เข้ามา ข้อมูลการศึกษาพบว่า 1 ใน 3 ของค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวใช้ไปกับการรับประทานอาหาร ทำให้ในปัจจุบันกระแสการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม เป็นที่นิยมและกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายในปัจจุบัน ซึ่งการจัดทำโครงการพัฒนาอาหารท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมในจังหวัดพิษณุโลก เป็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พัฒนาและเพิ่มขีดความสมารถของการแข่งขัน อีกทั้งก่อให้เกิดการสร้างฐานข้อมูลอาหารท้องถิ่นและยกระดับอาหารท้องถิ่น ตลอดจน เชื่อมโยงเส้นทางวัฒนธรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของโลกต่อไป กิจกรรมประกอบไปด้วยการเสวนา หลักเกณฑ์และการคัดเลือกอาหารของจังหวัดพิษณุโลก การนำเสนออาหารท้องถิ่นของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการต่อคณะกรรมการฝ่ายคัดเลือกอาหารและผู้ประกอบการของจังหวัดพิษณุโลกและคณะกรรมการ โดยการคัดเลือกอาหารท้องถิ่นต้นแบบของจังหวัดพิษณุโลกจำนวน 10 ผลิตภัณฑ์

 

การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน

มหาวิทยาลัยฯ ได้นำผลการเข้าร่วมกิจกรรมไปพัฒนามหาวิทยาลัยฯ ในเรื่องของส่งเสริมการยกระดับการทำนุบำรุงงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง การพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น การส่งเสริมให้นักศึกษาพัฒนาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มของอาหารที่เป็นจุดเด่น การออกแบบให้ตรงกับความต้องการและมีความคิดสร้างสรรค์ ให้มีจุดเด่นสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน และความต้องการของกลุ่มนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาในจังหวัดพิษณุโลกในอนาคต และเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับกลุ่มผู้ประกอบการในจังหวัดพิษณุโลก

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *