ประชุมคณะกรรมการการเงินและงบประมาณ

เมื่อวันพุธที่ 6 ธันวาคม  2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามได้จัดประชุมร่วมกันกับคณะกรรมการการเงินและงบประมาณ ครั้งที่ 40 (6/2566) ณ ห้องประชุม ท 210 อาคารทีปวิชญ์ เพื่อพิจารณาในประเด็นการบริหารงานด้านการเงินและงบประมาณ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ข้อมูลผู้มีส่วนร่วม

ในการประชุมคณะกรรมการการเงินและงบประมาณ  ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในประเด็นการบริหารงานด้านการเงินและงบประมาณ ประกอบด้วยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จากภายนอก จำนวน 2 ราย และบุคลากรภายใน จำนวน 16 ราย เป็นคณะกรรมการพิจารณาร่วมด้วย

 

ผลจากการมีส่วนร่วม

จากการประชุม เพื่อพิจารณาผลการดำเนินงานด้านการบริหารการเงินและงบประมาณ ของมหาวิทยาลัยฯ คณะกรรมการฯ ได้มีการนำเสนอเพื่อพิจารณาในการพิจารณา “ร่าง”ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เพื่อใช้ในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเป็นไปตามแนวทางที่กำหนดและเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการเรียนการสอน การสร้างนวัตกรรม ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตและการสร้างบัณฑิต ดังนี้

  1. พิจารณา “ร่าง” ประกาศ เรื่องการจ่ายค่าตอบแทนสำหรับอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
  2. พิจารณา “ร่าง”ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เรื่องการจ่ายค่าตอบแทนใบประกอบวิชาชีพและค่าประสบการณ์ทำงานสำหรับพนักงานมหาวิทยาลัยเงินรายได้ สายวิชาการ คณะพยาบาลศาสตร์
  3. พิจารณา “ร่าง” ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เรื่อง การบริหารเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
  4. พิจารณา “ร่าง” ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เรื่องการเปลี่ยนแปลง การรายงานผล งาน/โครงการตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
  5. พิจารณา “ร่าง” ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามเรื่อง การบริหารรายจ่ายจากเงินรายได้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
  6. พิจารณา “ร่าง” ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เรื่องหลักเกณฑ์การจัดสรรทุนวิจัยและนวัตกรรมสำหรับคณาจารย์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

 

การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน

        คณะหน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยได้นำ “ร่าง” ประกาศที่ผ่านการพิจารณาใน  ครั้งนี้ ไปทบทวนสอบทานและแก้ไขตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ โดยผ่านงานวินัยและ      นิติการตรวจสอบก่อนที่จะนำเสนออธิการบดีลงนาม และประกาศที่ได้รับการลงนามแล้ว นำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติการบริหารรายจ่ายจากเงินรายได้ และใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้หน่วยงานเกิดการขับเคลื่อนและเกิดประโยชน์สูงสุด

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *