มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จัดงานเพิ่มศักยภาพชุมชน Soft Power               บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดพิษณุโลก

เมื่อวันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์  2567 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม จัดงานเพิ่มศักยภาพ Soft Power บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดพิษณุโลก

ประเด็นการมีส่วนร่วม เพิ่มศักยภาพ Soft Power บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดพิษณุโลก

ข้อมูลผู้มีส่วนร่วม

  1. สำนักงานจังหวัดพิษณุโลก
  2. สำนักงานพัฒนาการจังหวัดพิษณุโลก
  3. วัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก
  4. สภาวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก
  5. เทศบาลนครพิษณุโลก
  6. องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก
  7. สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดพิษณุโลก
  8. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพิษณุโลก
  9. สำนักงานเกษตรจังหวัดพิษณุโลก
  10. สภาอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลก
  11. สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดพิษณุโลก
  12. หอการค้าจังหวัดพิษณุโลก
  13. สโมสรซอนต้า (Zonta)
  14. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 1
  15. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 2
  16. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 3
  17. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 (พิษณุโลก-อุตรดิตถ์)
  18. สมาคมธุรกิจอาหารจังหวัดพิษณุโลก
  19. ชมรมผู้ประกอบการโรงแรม
  20. ร้านอาหาร ส.เลิศรส
  21. โรงงานหมี่ซั่วมังกรทอง
  22. ร้านอาหารขนมจีนต้นก้ามปู
  23. ร้านอาหารส้มตำปูเสื่อ
  24. ร้านอาหารบ้านหลังวัง
  25. หจก.เศรษฐศิรักษ์โปรดักชั่น
  26. โครงการคลินิกเทคโนโลยี
  27. สำนักศิลปะและวัฒนธรรม

 

ผลจากการมีส่วนร่วม

มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงครามโดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรมเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นมีพันกิจในการศึกษาวิจัย บริการวิชาการบูรณาการศิลปะวัฒนธรรมสร้างคุณค่าและมูลค่าบทบาทและพันธกิจของกลุ่มหาวิทยาลัยราชภัฏ การพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ในชุมชนในพื้นที่ให้มีศักยภาพในการจำหน่ายสร้างรายได้ในชุมชนท้องถิ่นและสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชนใช้ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญามาประยุกต์ใช้ให้เกิดมูลค่าตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ร่วมกันในการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อแก้ไขปัญหาตอบสนองความต้องการในระดับพื้นที่ รวมทั้งเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักให้กระบวนการดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการในระดับพื้นที่ดำเนินเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล โดยมีพื้นที่ที่มุ่งเน้นหลักคือจังหวัดพิษณุโลกและพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของจังหวัดให้สามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยมุ่งเน้นการทำงานลักษณะการบูรณาการและการขับเคลื่อนของทุกภาคส่วนโดยใช้องค์ความรู้นักวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มหาวิทยาลัยมีและได้นำผลไปต่อยอดเพื่อสร้างองค์ความรู้ที่หลากหลายในการพัฒนาพื้นที่ชุมชนและท้องถิ่นในการสร้างเครือข่ายการบูรณาการสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดในทุกมิติของคนในชุมชนเป็นสำคัญ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเพิ่มศักยภาพชุมชนชาวซอฟต์พาวเวอร์ ด้วยองค์ความรู้อัตลักษณ์ศิลปะวัฒนธรรมโดยมีผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเป้า คือ หมี่ซั่วเมืองสองแคว แหล่งผลิตหมี่ซั่วOTOP ประจำจังหวัดพิษณุโลก การนำเส้นหมี่ซั่วดั้งเดิมมาปรุงให้ถูกใจลูกค้ารุ่นใหม่นั้นเป็นสิ่งที่น่าสนใจในการดำเนินการพัฒนาเพิ่มศักยภาพชุมชนซอฟต์พาวเวอร์และองค์ความรู้อัตลักษณ์ของจังหวัดพิษณุโลก

 

การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน

        มหาวิทยาลัยได้สรุปผลจากการแสดงความคิดเห็นของผู้มีส่วนร่วมเพื่อนำไปพัฒนา ปรับปรุง ให้เกิดอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่โดดเด่น และสามารถนำไปต่อยอดได้ ดังนี้

  1. จำนวนผลิตภัณฑ์ Soft Power ที่นำอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เป็นสินค้า โดยให้ชุมชนมีการสร้างอัตลักษณ์ด้านอาหารและผู้ประกอบการมีการสร้างสื่อการรับรู้ Soft Power จากอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้ให้ผู้บริโภคมากขึ้น
  2. ยกระดับชุมชน/พื้นที่ ที่ได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวหรือการเรียนรู้ Soft Power ที่มีอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
  3. ร้อยละผลิตภัณฑ์ที่พัฒนา Soft Power โดยการนำอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เป็นสินค้าจำหน่ายได้
  4. เกิดการสร้างรายได้ของผู้ประกอบการ/ร้านค้าจากนักท่องเที่ยวทั้งภายในจังหวัดพิษณุโลกและต่างจังหวัด

ทั้งนี้ได้มีการมอบหมายให้สำนักศิลปะและวัฒนธรรมติดตามผลการเพิ่มศักยภาพชุมชน Soft Power หมี่ซั่วสองแคว จังหวัดพิษณุโลก เพื่อนำไปทบทวนและพัฒนาให้ดีขึ้นต่อไป

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *